origami 折り紙 การพับกระดาษญี่ปุ่น
折り紙 origami การพับกระดาษญี่ปุ่น
โอะริงะมิ (ญี่ปุ่น: 折り紙 จากคำว่า โอะริ แปลว่า "การพับ" และ กะมิ แปลว่า "กระดาษ") เป็นศิลปะในการพับกระดาษ เพื่อสร้างสรรค์รูปทรงหรือวัตถุต่างๆ ขึ้นมาจากการพับกระดาษ โดยทั่วไปการพับกระดาษจะเริ่มจากกระดาษแผ่นสี่เหลี่ยม ซึ่งอาจใช้สีเดียวกัน สีต่างกัน หรือกระดาษที่มีลวดลายต่างๆ และทำการพับทบไปจนเป็นรูปร่าง ซึ่งส่วนมากจะไม่มีการตัดกระดาษ สำหรับการประดิษฐ์ที่มีการตัดระหว่างการทำจะเรียกว่า คิริงะมิ
(切り紙) เชื่อกันว่าการทำโอะริงะมิมีมาตั้งแต่ยุคเอโดะ (ค.ศ. 1603-1867)
เทคนิคการพับและวัสดุอุปกรณ์
หนังสือโอะริงะมิจำนวนมากจะเริ่มต้นด้วยการแนะนำภาพสัญลักษณ์และวิธีพับขั้นพื้นฐานเพื่อที่จะพับเป็นรูปร่างต่างๆในหนังสือ เช่น การพับภูเขา การพับหุบเขา การพับตลบหลัง การพับตลบในการเปิดและพับ การพับหลุบจมกระดาษ การพับกลีบดอกไม้ โอะริงะมิบางพวกจำนวนมากจะเริ่มต้นด้วยขั้นพื้นฐานเฉพาะซึ่งมีชื่อเรียก เช่น พื้นฐานนก พื้นฐานกบ พื้นฐานปลา พื้นฐานระเบิดน้ำ ก่อนที่จะพับไปสู่รูปร่างขั้นสุดท้ายแบบต่างๆกัน
กระดาษโอะริงะมิ
โอะริงะมิต้องการความคงตัวของรอยพับ เพราะฉะนั้นกระดาษที่พับแล้วยังคงรอยพับอยู่สามารถนำมาพับโอะริงะมิได้ทั้งหมด
สำหรับกระดาษเฉพาะในการพับโอะริงะมิมีลักษณะพิเศษคือ บางและไม่ขาดง่าย ส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดตั้งแต่ 2.5 ซม. จนถึง 25 ซม. มีหลากสีบรรจุในซอง ส่วนมากเป็นกระดาษที่ด้านหนึ่งเป็นสีอีกด้านนึงไม่มีสีคือเป็นสีขาว แต่ก็มีผู้ผลิตกระดาษที่มีสีทั้งสองด้านด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีแบบที่พิมพ์ลวดลายสวยงาม กระดาษธนบัตรก็สามารถนำมาพับโอะริงะมิได้เช่นเดียวกัน
อุปกรณ์เสริม
การทำรอยพับที่เที่ยงตรงสามารถใช้อุปกรณ์เสริม เช่น คลิปหนีบกระดาษ แหนบ หรืออุปกรณ์เฉพาะ เพื่อช่วยในการพับ
websiteการพับกระดาษญี่ปุ่น http://en.origami-club.com/
ตัวอย่างการพับนกกระเรียน
ตัวอย่างการพับมังกร
ตำนานนกกระเรียนพันตัว
ซะดะโกะ ซะซะกิ (佐々木 禎子 Sasaki Sadako 7 มกราคม 2486 – 25 ตุลาคม 2498) เป็นเด็กหญิงชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ใกล้กับสะพานมิซาสะในจังหวัดฮิโระชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่ระเบิดนิวเคลียร์ถูกทิ้งลงที่ฮิโระชิมะ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เธอมีอายุเพียงสองปีเท่านั้น จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย แต่ตัวเธอนั้น "รอดชีวิต" ซะดะโกะเป็นเด็กแข็งแรงอีกทั้งเป็นนักกีฬา อย่างไรก็ดีในปี พ.ศ. 2497 เมื่อมีอายุได้ 11 ปี ขณะกำลังซ้อมวิ่ง เธอรู้สึกมึนหัวแล้วล้มลง แพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นหนึ่งในผลสืบเนื่องจากระเบิดนิวเคลียร์
เพื่อนของซะดะโกะได้เล่าให้เธอฟังเกี่ยวกับตำนานที่ว่า ถ้าใครพับนกกระดาษได้ครบหนึ่งพันตัว จะได้สิ่งที่ตนต้องการ ซะดะโกะหวังว่านี่อาจช่วยให้เธอหายป่วยและกับมาวิ่งได้อีกครั้ง เธอใช้เวลา 14 เดือนในโรงพยาบาล และพับนกมากกว่า 1,300 ตัว ก่อนที่จะเสียชีวิตลงด้วยอายุเพียง 12 ปี (ในเรื่องเล่าที่ค่อนข้างแพร่หลายกล่าวว่าเธอพับนกได้แค่ 644 ตัวก่อนจะเสียชีวิต และเพื่อนของเธอพับนกให้เธอจนครบหนึ่งพันตัว และฝังนกเหล่านั้นพร้อมกับร่างของเธอ) ปัจจุบันที่ฐานอนุสาวรีย์ของเธอในบริเวณอนุสรณ์สถานสันติภาพ ฮิโระชิมะ ผู้คนจากทั่วโลกยังคงแวะเวียน นำพวงมาลัยนกกระเรียนกระดาษมาวางเพื่อระลึกถึงเธอ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากสงคราม
ซะดะโกะ ซะซะกิ (佐々木 禎子 Sasaki Sadako 7 มกราคม 2486 – 25 ตุลาคม 2498) เป็นเด็กหญิงชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ใกล้กับสะพานมิซาสะในจังหวัดฮิโระชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่ระเบิดนิวเคลียร์ถูกทิ้งลงที่ฮิโระชิมะ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เธอมีอายุเพียงสองปีเท่านั้น จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย แต่ตัวเธอนั้น "รอดชีวิต" ซะดะโกะเป็นเด็กแข็งแรงอีกทั้งเป็นนักกีฬา อย่างไรก็ดีในปี พ.ศ. 2497 เมื่อมีอายุได้ 11 ปี ขณะกำลังซ้อมวิ่ง เธอรู้สึกมึนหัวแล้วล้มลง แพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นหนึ่งในผลสืบเนื่องจากระเบิดนิวเคลียร์
เพื่อนของซะดะโกะได้เล่าให้เธอฟังเกี่ยวกับตำนานที่ว่า ถ้าใครพับนกกระดาษได้ครบหนึ่งพันตัว จะได้สิ่งที่ตนต้องการ ซะดะโกะหวังว่านี่อาจช่วยให้เธอหายป่วยและกับมาวิ่งได้อีกครั้ง เธอใช้เวลา 14 เดือนในโรงพยาบาล และพับนกมากกว่า 1,300 ตัว ก่อนที่จะเสียชีวิตลงด้วยอายุเพียง 12 ปี (ในเรื่องเล่าที่ค่อนข้างแพร่หลายกล่าวว่าเธอพับนกได้แค่ 644 ตัวก่อนจะเสียชีวิต และเพื่อนของเธอพับนกให้เธอจนครบหนึ่งพันตัว และฝังนกเหล่านั้นพร้อมกับร่างของเธอ) ปัจจุบันที่ฐานอนุสาวรีย์ของเธอในบริเวณอนุสรณ์สถานสันติภาพ ฮิโระชิมะ ผู้คนจากทั่วโลกยังคงแวะเวียน นำพวงมาลัยนกกระเรียนกระดาษมาวางเพื่อระลึกถึงเธอ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากสงคราม
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/
ผู้เขียน : นางสาวประภัสสร จันทร์แสง
ป.วิชาชีพครู หมู่เรียน 3 เลขที่11
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น